ฝนหลวงหลั่งรินจากน้ำพระราชหฤทัย

ฝนหลวงหลั่งรินจากน้ำพระราชหฤทัย

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทรงสังเกตเห็นกลุ่มเมฆปริมาณมากปรากฏเหนือพื้นที่รอบเส้นทางบิน แต่ไม่สามารถก่อตัวให้เกิดเป็นฝนได้
จึงทรงพระราชดำริถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยให้เมฆเกิดการรวมตัวกันและทำให้เกิดเป็นฝนตกลงมา
นับจากนั้น จึงทรงศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทำ “ฝนหลวง” มาโดยตลอด
การทดลองสำเร็จเป็นครั้งแรกที่อุทยานเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ๒๕๑๒
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมน้อมเกล้าฯ ปฏิบัติงานด้านการทำฝนหลวง
ในช่วงปลาย พ.ศ. ๒๕๔๑ จนถึงต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๒
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมน้อมเกล้าฯ สนับสนุนการบริการควบคุมจราจรทางอากาศ
แก่เครื่องบินของโครงการพระราชดำริฝนหลวงตามแผนการบิน
และกรมท่าอากาศยาน ร่วมน้อมเกล้าฯ สนองพระบรมราโชบายมาแต่แรกเริ่ม โดยจัดศาลาที่ประทับ
ณ ท่าอากาศยานบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถวายสำหรับเป็นฐานปฏิบัติการ
และเพิ่มพื้นที่การสนับสนุนแก่กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในการเป็นที่ตั้งหน่วยปฏิบัติการ
และฐานปฏิบัติการฝนหลวงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น ๘ ท่าอากาศยาน ได้แก่
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ ท่าอากาศยานหัวหิน
ท่าอากาศยานแพร่ ท่าอากาศยานขอนแก่น ท่าอากาศยานตาก และท่าอากาศยานชุมพร
นอกจากสายน้ำแห่งฝนหลวงนำความชุ่มชื่นมาสู่แผ่นดินไทยแล้ว
ยังนำความชุ่มชื่นและปลาบปลื้มแก่คณะทำงานภายใต้การดูแลของกระทรวงคมนาคมอย่างหาที่สุดมิได้

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทรงสังเกตเห็นกลุ่มเมฆปริมาณมากปรากฏเหนือพื้นที่รอบเส้นทางบิน แต่ไม่สามารถก่อตัวให้เกิดเป็นฝนได้
จึงทรงพระราชดำริถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยให้เมฆเกิดการรวมตัวกันและทำให้เกิดเป็นฝนตกลงมา
นับจากนั้น จึงทรงศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทำ “ฝนหลวง” มาโดยตลอด
การทดลองสำเร็จเป็นครั้งแรกที่อุทยานเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ๒๕๑๒
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมน้อมเกล้าฯ ปฏิบัติงานด้านการทำฝนหลวง
ในช่วงปลาย พ.ศ. ๒๕๔๑ จนถึงต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๒
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมน้อมเกล้าฯ สนับสนุนการบริการควบคุมจราจรทางอากาศ
แก่เครื่องบินของโครงการพระราชดำริฝนหลวงตามแผนการบิน
และกรมท่าอากาศยาน ร่วมน้อมเกล้าฯ สนองพระบรมราโชบายมาแต่แรกเริ่ม โดยจัดศาลาที่ประทับ
ณ ท่าอากาศยานบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถวายสำหรับเป็นฐานปฏิบัติการ
และเพิ่มพื้นที่การสนับสนุนแก่กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในการเป็นที่ตั้งหน่วยปฏิบัติการ
และฐานปฏิบัติการฝนหลวงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น ๘ ท่าอากาศยาน ได้แก่
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ ท่าอากาศยานหัวหิน
ท่าอากาศยานแพร่ ท่าอากาศยานขอนแก่น ท่าอากาศยานตาก และท่าอากาศยานชุมพร
นอกจากสายน้ำแห่งฝนหลวงนำความชุ่มชื่นมาสู่แผ่นดินไทยแล้ว
ยังนำความชุ่มชื่นและปลาบปลื้มแก่คณะทำงานภายใต้การดูแลของกระทรวงคมนาคมอย่างหาที่สุดมิได้

สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
เลขที่ ๓๘ ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐